สำหรับผู้ใช้ LINE คงจะพอรู้จักกับบริการจ่ายเงิน LINE Pay กันมาบ้างแล้ว แต่ LINE กำลังมีแผนการเปิดตัวบริการทางการเงินที่ไปไกลกว่านั้น เพราะจะมีบริการการเงินแบบครบวงจร ทั้งการลงทุน เงินกู้ ซื้อขายประกัน รวมถึงการเปิดให้บริการธนาคารใต้แบรนด์ LINE Bank ด้วย
LINE Bank อาจจะเป็นเรื่องที่บางคนอาจรู้จักมาบ้าง เพราะ LINE เคยออกข่าวเรื่องนี้มาสักพัก สำหรับในประเทศไทย LINE ก็ประกาศตั้งบริษัทร่วมทุนกับ KBank ชื่อ “บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด” แล้ว ตั้งแต่ช่วงประมาณปลายปีที่แล้ว ถึงแม้ข่าวเรื่องนี้จะเงียบหายไปบ้าง แต่ LINE ก็ระบุว่ามีแผนจะเปิด LINE Bank ในประเทศไทย ในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 นี้ด้วย
สำหรับโครงการ LINE Bank ในแต่ละประเทศมีอะไรบ้าง
- ปรเทศญี่ปุ่น LINE จับมือกับยักษ์ใหญ่ Mizuho Bank
ประเทศที่บริษัทใหญ่ของ LINE คือ ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น สำหรับโครงการ LINE Bank ในญี่ปุ่นนั้น จึงต้องเน้นเป็นพิเศษ โดยพาร์ทเนอร์ของ LINE ในญี่ปุ่น คือ Mizuho Financial Group หรือ MHFG ซึ่งเป็นกลุ่มธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับสองของญี่ปุ่น เพราะอันดับหนึ่ง คือ MUFJ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารกรุงศรีอยุธยาในปัจจุบัน
LINE ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศตั้งบริษัทร่วมทุนกับ Mizuho ในเดือนพฤศจิกายน 2018 โดยระบุว่า จะตั้ง “ธนาคารใหม่” ที่ใช้คอนเซปต์ “smartphone bank” และขอใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านการธนาคารของญี่ปุ่น ซึ่งมีเงินทุนตั้งต้นประมาณ 2 พันล้านเยน สัดส่วนหุ้น คือ LINE Financial Corporation ถือ 51% และ Mizuho Bank ถือ 49%
- ประเทศไต้หวัน LINE จะตั้งกลุ่มพันธมิตรร่วมกับ 4 ธนาคาร
สำหรับแนวทางของ LINE Bank ในไต้หวันแตกต่างออกไป โดย LINE จะจับมือกับธนาคารถึง 4 ธนาคาร เพื่อขอใบอนุญาตเปิดธนาคารออนไลน์ โดยสัดส่วนการถือหุ้นมีดังนี้
LINE Financial Taiwan ถือ 49.9%
Taipei Fubon Commercial Bank 25.1%
CTBC Bank 5%
Standard Chartered Bank (Taiwan) 5%
Union Bank of Taiwan 5%
LINE Bank Taiwan ได้แต่งตั้ง Morris Huang อดีตผู้บริหารของ Fubon Bank เข้ามาเป็น CEO และอยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการเงินของไต้หวัน (Financial Supervisory Commission) ต่อไป
- ประเทศอินโดนีเซีย LINE จะเข้าไปซื้อหุ้นธนาคารเอง
แนวทางของ LINE Bank ในอินโดนีเซียถือว่าน่าตื่นเต้นที่สุด เพราะ LINE Financial Asia ได้ประกาศจะเข้าซื้อหุ้นของธนาคาร PT Bank KEB Hana Indonesia ซึ่งเป็นสัดส่วนถึง 20% และกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 2 ของธนาคารไปในทันที
ธนาคาร KEB Hana เกิดจากการรวมตัวกันของธนาคาร KEB Indonesia ของอินโดนีเซีย กับธนาคาร Hana Bank ของกลุ่มทุน Hana Financial Group จากเกาหลีใต้ ทำให้ปัจจุบัน KEB Hana มีสถานะเป็นธนาคารเกาหลี ที่มีให้บริการอยู่ในประเทศอินโดนีเซียนั่นเอง
- ประเทศไทย LINE ได้ตั้งบริษัทร่วมทุนกับธนาคารกสิกรไทย
วิธีการของ LINE Bank ในไทยจะมีความใกล้เคียงกับในญี่ปุ่น นั่นคือ การตั้งบริษัทร่วมทุน (joint venture) กับธนาคารยักษ์ใหญ่ของประเทศ โดยบริษัท KASIKORN LINE Company Limited เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทลูก Kasikorn Vision (KVision) และ LINE Financial Asia
สำหรับเป้าหมายของบริษัท KASIKORN LINE นั้น จะเน้นทำเรื่องเกี่ยวกับ “เงินกู้” โดยตั้งเป้าว่าจะเป็นผู้ให้บริการเงินกู้ Top 5 ของไทย ในระยะเวลาภายใน 5 ปี อีกด้วย
สำหรับแผนการ LINE Bank ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ของ LINE ที่ตั้งใจจับมือกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นในทุกประเทศ แต่ว่าบริการธนาคารนั้น จะต้องผ่านกระบวนการกำกับดูแลอย่างเข้มข้น และต้องขอใบอนุญาตเปิดธนาคารในแต่ละประเทศด้วย ทำให้อาจจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง ถึงจะได้เห็น LINE Bank เริ่มเปิดบริการให้ใช้งานได้จริง
นอกจาก LINE Bank แล้ว LINE ยังมียุทธศาสตร์ด้าน Financial Services ที่มีให้บริการในด้านการเงินต่างๆ แบบครบวงจรอีกด้วย
เกาะติดข่าวสารการตลาดออนไลน์ เทคนิคการโปรโมทโฆษณา
แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @ajlink ที่นี่
Fanpage : Aj Link
ติดตามข่าวสารไอที : www.ajlink.net